วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

Global Rich Club คือแชร์ลูกโซ่ ??

      
       
       แชร์ลูกโซ่คืออะไร ?? และต่างจากธุรกิจเครือข่ายอย่างไร อาจจะสับสนไม่น้อย ยิ่งคนใหม่ๆมักจะแยกไม่ออก ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพงค่า ครองชีพสูงขึ้นแต่รายได้ของประชาชนกลับเท่าเดิม ทำให้มีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี หรือกลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาสร้างโอกาสในวิกฤตนี้ "แชร์ลูกโซ่" เป็นเครือข่ายกลลวงอย่างหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพมักแฝงตัวเข้ามา ทำทีว่าต้องการสร้างเครือข่ายผู้ใช่สินค้าและผู้บริโภค แต่เจตนาที่แท้จริงไม่ได้ต้องการมาขายสินค้า แต่ต้องการที่จะระดมทุน จนหลายๆครั้งคุณอาจเคยได้ยินว่า แช่ร์ลูกโซ่ คือการเอาสินค้ามาบังหน้า ยิ่งหาขาได้เยอะ ยิ่งได้เงินเยอะ เคยคำนี้ใช่ไหมคะ?
      
       แล้วเราจะแยกออกได้อย่างไรล่ะ ? ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ ในบริษัททั่วไปก่อนนะคะ บริษัททั่วไปเป็นบริษัทที่เปิดมาเพื่อสร้างรายได้ ด้วยการขายสินค้าหรือบริการ รายได้เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นๆถูกขับเคลื่อนไปสู่ผู้บริโภค และการที่สินค้าจะทำตลาดได้ดีและต่อเนื่อง ก็จำเป็นต้องสร้างยี่ห้อหรือตราสินค้าให้ติดตลาด ให้มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค เราเรียกว่าการ "ทำการตลาด" ซึ่งวิธีการทำการตลาดของบริษัทนั้นก็อาจแตกต่างกันออกไป 
       
        ซึ่งในรูปแบบธุรกิจเครือข่ายหรือขายตรง ก็คือรูปแบบการทำการตลาดชนิดหนึ่ง กล่าวคือเปลี่ยนจากการทำตลาดแบบเดิม นั่นก็คือ สินค้าหนึ่งชิ้นออกจากโรงงาน ไปวางตามร้านค้า ห้างสรรพสินค้า มีค่าขนส่ง มีค่าวางสินค้า ผู้ผลิตต้องจ่ายโฆษณาทางทีวี วิทยุ หรือนิตยาสาร คุณลองคิดดูเล่นๆว่าสินค้าหนึ่งชิ้นจะต้องถูกบวกราคาเพิ่มเป็นเท่าไหร่กว่าจะถึงมือผู้บริโภค ?? คำตอบคือ 62 % หรือ ของหนึ่งชิ้นมีมูลค่า 100 บาท เราต้องจ่ายให้กับค่าการตลาดถึง 62 บาท ตัวสินค้าจริงๆแค่ 38 บาทเอง
       กลับมาที่ธุรกิจเครือข่ายหรือขายตรง เจตนาเหมือนเดิมค่ะ คือต้องการขายสินค้าและบริการ ต้องการสร้างรายได้เข้าบริษัท แต่เพียงแค่เปลี่ยนค่าการตลาด ที่ต้องจ่ายให้ร้านค้าส่งค้าปลีก ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ไปอยู่ในมือผู้บริโภคแทน กล่าวคือ เงิน 62 % นั้นกลับคืนสู้ผู้บริโภค แต่สำหรับแชร์ลูกโซ่ ไม่ได้เจตนา ต้องการมาขายของ แต่เจตนาที่แท้จริงคือต้องการระดมเงินค่ะ
      
        ขอเล่าประสบการณ์ตรงของเพื่อนร่วมงานของดิฉัน เมื่อ 6-7 ปีก่อน มีแชร์ลูกโซ่รายหนึ่ง เค้าลงประกาศในหนังสือพิมพ์หางาน ว่าเป็นบริษัทเปิดใหม่ รับพนักงานจำนวนมาก เมื่อคนเข้าไปตามที่อยู่ที่ลงไว้ ก็เจอบริษัทแห่งหนึ่งที่เป็นห้องแถวเล็กๆ 1 ห้อง แต่คนเยอะมาก กำลังเปิดเพลงเสียงดัง และชื่อบริษัทก็ยาวมาก (ยาวพอๆกับ กรุงเทพหมานคร อมรรัตนโกสินทร์ ฯ ) ที่ทางเข้าจะมีเจ้าหน้าที่มาต้อนรับ พูดคุยทั่วไปและบอกว่า จะให้ไปสัมภาษณ์ที่ชั้น 3 กับผู้บริหารทีละคน แต่เมื่อถึงเวลา กลับให้ขึ้นกันไปหมดชั้นเลย  ในนั้นเป็นห้องประชุม มีกระเทยนางหนึ่ง ขึ้นมาพูดหน้าเวที  เล่าที่มาที่ไป สรุปได้ว่าเป็นบริษัทที่เปิดสอนคอมพิวเตอร์และภาษา และบริษัทนี้ขายคอร์สเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อมาพิจารณาแต่ละคอร์ส ดูแล้วตลกมาก เช่น  คอร์สเรียน Microsoft word  10 ครั้งราคา 3,000 กว่าบาท  และยังมีโปรแกรมอื่นๆที่หนีไม่พ้นโปรแกรมพื้นฐานที่ เด็ก ป.6 สมัยนั้นก็ใช้เป็น จากนั้นก็จะมีคนมานั่งประกบหลายๆคนและกดดันให้ลงทะเบียน เพื่อนของดิฉันจึงเสียค่าโง่จ่ายไป 500 บาท เพราะบอกว่าจองก่อนก็ได้ จากนั้นก็ต้องไปที่ห้องแถวเล็กๆนั้นอีกทุกวัน เพราะเค้าบอกให้ไปเรียนรู้  ทีมงานก็บอกให้ไปซื้อสูทตัวละ 199 บาท แถวสะพานพุทธมาใส่ เพื่อจะได้มีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ  หลังจากที่เพื่อนของดิฉันได้ถามกับหลายๆคนที่หลงเข้ามา ก็พบว่าไม่มีใครรู้เลยว่าไปเรียนคอร์สที่เขาขายมีสอนที่ไหน และไม่มีใครได้ไปเรียนจริงๆ เพราะทุกคนสนแต่เงินค่ะ และที่สำคัญตอนเข้าไปในออฟฟิศเค้าจะให้คนใหม่กรอกข้อมูลว่าใครเป็นคนแนะนำมา ซึ่งคนแนะนำก็จะได้เงินทันทีค่ะ เพื่อนดิฉันเห็นว่าเจ้าของ นั่งนับเงินเป็นปึกๆในห้องตู้กระจก จากนั้นเขาก็ไม่ไปที่นั่นอีกเลย แบบนี้ค่ะแชร์ลูกโซ่ จะเห็นเลยว่าไม่มีเจตนาขายสินค้า แต่เจตนาเพื่อระดมทุน
     
       อีกกรณีหนึ่งค่ะ เรื่องนี้เกิดขี้นประมาณ 10 ปีมาแล้ว เกิดขึ้นกับคุณอาท่านนึงในธุรกิจ ท่านเล่าประสบการณ์ให้ฟัง ว่าท่านได้ไปเข้าร่วมการประชุมของบริษัท ขออนุญาตเอ่ยชื่อเลยแล้วกัน เพราะตอนนั้นเป็นข่าวครึกโครมไปทั่ว เพราะมีไอทีวีและตำรวจบุกไปจับ  ชื่อบริษัท เอเชียน เจมส์ บริษัทนี้ เค้าให้คุณอานั่งรถไปกับเขา แล้วบอกว่าไปหารายได้พิเศษ  พอไปถึงก็เข้าห้องประชุม ที่มีแต่ตาสีตาสานั่งห้อมล้อม คุณอานั่งฟังจนจบ และจับใจความได้ว่าธุรกิจนี้ขายเพชร เขาบอกว่าทำเพชรส่งออก และเอาส่วนหนึ่งมาทำตลาดในไทย โดยให้ซื้อเพชรที่มีราคาถูกกว่าของจริงหลายสิบเท่า หลายคนหลงเชื่อ ขายที่ขายนามาซื้อเพชร แล้วไปหาคนมาต่อ คุณอาบอกว่าดีนะที่ตอนนั้นไม่มีเงิน ไม่อย่างนั้นคงได้เพชรเก๊มาครอบครองแล้ว หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็ออกข่าวไอทีวีและตำรวจบุกจับ พบว่าเป็นเพชรปลอม
      ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่ามีสินค้าค่ะ แต่กลับเอาของไร้ราคามาอวดอ้างสรรพคุณให้ดูมีราคา เพื่อหลอกล่อให้คนมาระดมทุน ทั้ง 2 กรณีที่เล่ามานี้ถือเป็นตัวอย่าง แชร์ลูกโซ่ ทั้งแบบไม่มีสินค้า และมีสินค้า แต่เจตนาชัดเจนคือไม่ได้ต้องการขยายธุรกิจโดยชอบธรรม ไม่สร้างสินค้าที่มีคุณภาพ ธุรกิจที่มีลักษณะแบบนี้ถือว่าหลอกลวงค่ะ
      
       ขอกลับมาที่ Global Rich Club นะคะ บริษัทของเราก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่ทำการตลาดแบบเครือข่าย ด้วย Global Rich Club เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทัวร์ การจองโรงแรมและที่พัก จึงสามารถจองที่พักได้ในราคาถูก มีรายได้จากส่วนต่างในการจองโรงแรม ที่มาขายต่อนักท่องเที่ยว ดังนั้นถ้ายิ่งขายห้องพักได้มาขึ้นเท่าไหร่ รายได้ของบริษัทก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
       ถ้าพิจารณาที่ตัวสินค้า เราสมัครสมาชิกด้วยเงิน 7,500 บาท สมมติว่าเราเลือกใช้สิทธิ์ไปพักโรงแรม Novotel Centara Hatyai ปกติถ้าเราโทรไปจองหรือจองกับหน้าเคาท์เตอร์โรงแรม ราคาจะอยู่ที่คืนละ 2,700 บาท 3 คืน ราคาจะอยู่ที่ 8,100 บาท และสมาชิกสามารถจองที่พักได้จริงทุกคน
       สรุปคำตอบคือ Global Rich Club ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่แน่นอน !! ถ้าคุณยังไม่มั่นใจ สามารถโทรไปสอบถามที่ ส.ค.บ. (สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค) ในส่วนขายตรงหรือตลาดแบบตรง โทร. 02-1430365-67 ได้เลยค่ะ




ท่านสามารถติดต่อ Global Rich Club ไทยได้ที่
Tell : 088-2773938 (มาดาม)